ค้นหาบล็อกนี้

ผู้จัดทำ

    1. นางสาวดุจฤดี    สมปัญญา         B5610051
    2. นางสาวหนูรินทร์ อินทรศรี          B5612208
    3. นางสาวสุวินันท์  เรืองเวหา          B5619290

กฎกระทรวง


กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ พ.ศ.2547
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ให้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำด้วยพลาสติกสีฟ้าเงินสะท้อนแสง ด้านหน้ามีแถบแม่เหล็ก ด้านหลังมีลายปูพื้นรูปครุฑขนาด ๑ เซนติเมตร สีเทาดำเข้มกว่าพื้นบัตรเล็กน้อย เพื่อให้ตัวอักษรในรายการบัตรชัดเจน และเป็นไปตามแบบ ทส๑ และแบบ ทส๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ แล้วแต่กรณี
ลักษณะของรูปถ่ายในบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ให้มีขนาด ๒. x .๐ เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้ม แต่งเครื่องแบบข้าราชการ

กำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๘
  • กลิ่น หมายความว่า สิ่งเจือปนในอากาศที่รู้ได้ด้วยจมูกของคนหรือเครื่องมือวิเคราะห์
  • ตัวอย่างกลิ่น หมายความว่า ตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่นบริเวณแหล่งกำเนิดกลิ่น ซึ่งได้จากการเก็บตัวอย่างอากาศขณะที่ได้รับกลิ่นตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๔ หรือข้อ ๗ แล้วแต่กรณี
  • ค่าความเข้มกลิ่น (odour concentration) หมายความว่า ค่าแสดงสภาพกลิ่นซึ่งเป็นอัตราส่วนการเจือจางตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่นด้วยอากาสบริสุทธิ์จนเกือบจะไม่สามารถรับกลิ่นได้ กลิ่นที่แรงกว่าจะมีค่าความเข้มกลิ่นมากกว่า เพราะต้องเจือจางด้วยอากาศบริสุทธิ์ปริมาตรมากกว่า โดยทำการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๗
  • เขตอุตสาหกรรม หมายความว่า เขตพื้นที่ที่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
  • นอกเขตอุตสาหกรรม หมายความว่า พื้นที่อื่นนอกเหนือจากพื้นที่เขตอุตสาหกรรม



องค์กรที่เกี่ยวข้อง


          กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ (http://www.pcd.go.th/index.cfm) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีพันธกิจที่สำคัญได้แก่
               – กำหนดนโยบาย วางแผน และผลักดันยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษของประเทศไปสู่การปฏิบัติ
               – พัฒนามาตรฐาน มาตรการ และเกณฑ์ปฏิบัติในการควบคุมมลพิษที่เหมาะสมกับสถานการณ์
               – พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ
               – กำกับ ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการควบคุมมลพิษ และรายงานสาธารณะ เป็นแหล่งสำคัญในการให้ข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับ
               – การบริการด้านสารเคมี
               – ฐานข้อมูลต่างๆ
               – รายงานคุณภาพอากาศ
               – พ.ร.บ. กฎหมาย และมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง
               – ขยะมูลฝอยและการใช้ประโยชน์
               – ข้อมูลตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร
               – คุณภาพอากาศและเสียง
               – สารเคมีและของเสียอันตราย
               – การบริหารจัดการมลพิษ
               – เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

กรมควบคุมโรคติดต่อ

กรมควบคุมโรคติดต่อ (www.ddc.moph.go.th/index.php) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ประสานงานด้านสาธารสุข และข้อมูลที่สำคัญโดยเฉพาะ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (www.envocc.org/html/) มีบทความที่ติดตามความเคลื่อนไหวมาบตาพุด แสดงถึงความเคลื่อนไหวทางด้านการเฝ้าระวังสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด แต่การพัฒนาเว็บไซต์ยังมีปัญหาในเรื่องควาสมบูรณ์ของข้อมูล ดังนั้นผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บของกระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th/moph2/index4.php) ซึ่งจะมีข้อมูลสาธารณสุขที่สำคัญ แต่โดยสรุปทั้งสามเว็บยังมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ผ็บริหาร แต่ขาดการนำเสนอข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้สนใจต้องการ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม
                กรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th/diw/index.asp) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหลายหน่วยงานเช่น
                – งานให้บริการต่างๆ (www.diw.go.th/diw/m6_index.html) เช่นการจัดตั้งโรงงาน ตัวอย่างผังกระบวนการผลิต ระบบตรวจสอบมลพิษระยะไกล ระบบโลจิสติกส์ ระบบฐานข้อมูลสารกัมมันตรังสี ข้อมูลประเมินกากอุตสาหกรรมของโรงงานรายอำเภอ เป็นต้น
               – ศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม (http://watertech.diw.go.th/spic/index.aspx) ให้บริการด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระน่ารู้ต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม แผนงานและโครงการ กฏหมายสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม แผนที่มลพิษอุตสาหกรรม การรับเรื่องร้องเรียนมลพิษอุตสาหกรรม เป็นต้น
               – ข้อมูลโรงงานแตสาหกรรม (www.diw.go.th/diw/query.asp) ผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นหา รายชื่อโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม และอุตสาหกรรมดีเด่น  Download ข้อมูลโรงงานฯ สถิติโรงงานอุตสาหกรรม รายชื่อโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ข้อมูลสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน
               – ข้อมูลวัตถุอันตราย (www.diw.go.th/diw/HAZ_data.asp) ให้บริการการตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญเช่น ข้อมูลการประกอบการวัตถุอันตราย  จำนวนการออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน / ใบอนุญาต/ ใบรับแจ้ง ดำเนินการ ด้านวัตถุอันตราย ปริมาณนำเข้า ส่งออก วัตถุอันตราย จำนวนสถานที่เก็บวัตถุอันตราย เป็นต้น

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (http://www.ieat.go.th/) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม หน้าที่หลักคือการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าไปอยู่รวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ โดยจัดสรรพื้นที่ดินไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ รวมทั้ง บริการอื่นๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (http://www.dla.go.th/work/abt/) เป็นหน่วยงานที่บริหาร กำกับ ดูแล งานในท้องถิ่น  ประกอบด้วย องค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์กรปกครองส่วนตำบล

มาตรฐานมลพิษอากาศ



หมายเหตุ : 
1. มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะสั้น(1,8 และ24 ชม.) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอย่างเฉียบพลัน (acute effect)
2.มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะยาว(1 เดือนและ 1 ปี) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบยาวหรือผลกระทบเรื้อรัง ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย (chronic effect)

รายละเอียด: 

พระราชบัญญัติและกฎหมาย

พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ
บทบาทและภารกิจโดยทั่วไปของกรมควบคุมมลพิษ เป็นไปตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นหลัก อันได้แก่ การประกาศพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ การกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด การกำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยอากาศเสีย น้ำทิ้งหรือขยะมูลฝอย การจัดตั้ง คณะกรรมการควบคุมมลพิษ เพื่อจัดทำนโยบายและแผนงาน ประสานงานในการลดปัญหามลพิษและเสนอมาตรการในการป้องกันมลพิษ โดยมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่จำเป็นในการจัดการมลพิษ ได้แก่ กำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ กำหนดอัตรา ค่าบริการ ค่าปรับ และค่าสินไหมทดแทน หรือ ค่าเสียหาย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบซึ่งปรากฏในบทกำหนดโทษ ในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม 

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา 

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น โดยได้กำหนดไว้ให้หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 "กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น....." ซึ่งหมายรวมถึงการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อกระจายอำนาจอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จากพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ นี้ ได้มีการจัดทำแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมควบคุมมลพิษที่สำคัญ ได้แก่ งานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษด้านต่างๆ งานการติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข เป็นกฎหมายที่คุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมทั้งกิจกรรม การกระทำทุกอย่าง และกิจการประเภทต่างๆที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนกิจการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อันได้แก่หาบเร่ แผงลอย สถานที่จำหน่ายอาหาร ตลาดกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่างๆ รวม 125 ประเภท รวมทั้งการเลี้ยงหรือ ปล่อยสัตว์โดยให้อำนาจแก่ราชการส่วน ท้องถิ่น ในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น ใช้บังคับในเขต ท้องถิ่นนั้นๆ และให้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแล โดยการออกคำสั่งให้ ปรับปรุง แก้ไขการอนุญาต หรือไม่อนุญาต การสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาติ รวมทั้ง การเปรียบเทียบคดีและยังกำหนดให้มี "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" เป็นเจ้าพนักงานสาย วิชาการที่มีอำนาจในการตรวจตรา ให้คำ แนะนำ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการวินิจฉัย สั่งการ หรือออกคำสั่ง รวมทั้งผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติ การให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีบทบัญญัติ หรือข้อกำหนดที่ใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศ

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 
ตามความในมาตราของพระราชบัญญัตินี้ กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการควบคุมการดำเนินกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมาตรฐานและวิธีการควบคุมการกำจัดของเสียมลพิษหรือสารปนเปื้อนซึ่งเกิดจากกิจการของโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรมสามารถประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำจัดของเสียสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ห้ามการปล่อยทิ้งน้ำเสียและอากาศเสียจากโรงงานอุตสากรรม แนวทางการมีระบบบำบัดของเสีย ตลอดจนกำหนดระดับเสียงไม่ให้เกินมาตรฐานของ EPA (US Environmental Protection Agency)
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม >>คลิก

กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นหรือกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงกลยุทธ์และบังคับใช้มาตรการต่างๆ ที่ได้วางไว้ ให้มีประสิทธิผลในทางปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ เพื่อรักษาอากาศให้มีคุณภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความผาสุกของประชาชน ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างๆ 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ ได้กระจายอยู่ในกฎหมายแม่บทหลายๆ ฉบับ โดยมี พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายพื้นฐานที่มีขอบข่ายครอบคลุมการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการควบคุมภาวะมลพิษทุกๆ ด้าน รวมถึงการป้องกันและรักษาคุณภาพอากาศและการควบคุม มลพิษทางอากาศด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆอีกหลายบทบัญญัติและข้อกำหนดที่สามารถใช้ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษทางอากาศได้
พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษอากาศ

สาเหตุของมลพิษทางอากาศ



สาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญมีดังนี้

1. ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารที่ออกจาก รถยนต์ที่สำคัญได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกำมะถัน สารพวกไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ 55 % ออกมาจากทอไอเสีย 25 % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก 20 % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2และไน ตรัสออกไซด์ (N2O) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินชนิดซุปเปอร์ยังเพิ่มปริมาณตะกั่วในอากาศอีกด้วย
2. ควันไฟ และก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
- จากโรงงานผลิตสารเคมี ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงผลิตไฟฟ้า โรงงานทำเบียร์ โรงงาน สุรา โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานถลุงแร่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทำแก้ว โรงงานผลิตหลอดไฟ โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงงานผลิตกรด
- พลังงานที่เกิดจากสารเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทำให้เพิ่มสาร ต่าง ๆ ในอากาศ อาทิ สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกไซด์ของไนโตรเจน และ กำมะถันในบรรยากาศ
3. แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณที่กำลังก่อสร้าง โรงงานทำปูนซีเมนต์ โรงงาน โม่หิน โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตโซดาไฟ เหมืองแร่ เตาเผาถ่าน โรงค้าถ่าน เมรุเผาศพ
4. แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ได้แก่ เศษอาหาร และขยะมูลฝอย
5. ควันไฟจากการเผาป่า เผาไร่นา และจากบุหรี่
6. การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกัมมันตรังสี
7. การตรวจและรักษาทางรังสีวิทยา การใช้เรดิโอไอโซโทป ที่ขาดมาตรการที่ถูกต้องในการ ป้องกันสภาวะอากาศเสีย
8. อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่า กัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ความเป็นพิษเนื่องจากสาเหตุข้อนี้ค่อนข้าง น้อยมาก เนื่องจากต้นกำเนิดอยู่ไกล จึงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์ได้น้อย

ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ
1. ทำลายสุขภาพ อากาศเสียทำให้เกิดโรค แพ้อากาศ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรค เกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต ผลที่เกิดในระยะยาวอาจทำให้ถึงตายได้
2.ทำลายสิ่งก่อสร้างและเครื่องใช้โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยโลหะทำให้เกิดการสึกกร่อน ทำให้หนังสือและศิลปกรรมต่าง ๆ เสียหาย